Acquired vulnerability of cholangiocarcinoma using CDK4/6 inhibitor and oxaliplatin
Cancer always escapes the treatment, and this is the main issue to eventually causes the cancer treatment failure.
We at SiSP focus on trying to prevent drug resistance and deal with the emerged resistance. We showed in the new issue of Frontier in Oncology that cholangiocarcinoma adapts to cell cycle blocking by ramping up the RPL29. Getting rid of RPL29 restores the sensitivity to cell cycle blocking. Fortunately, a cancer drug that is already being used in the cholangiocarcinoma treatment, Oxaliplatin. The new combo is effective against drug-resistant cells as well as blocking the emergence of the resistant cells. This preclinical work awaits a translation to clinical testing.
Please follow the full paper in the Frontier's link below.
https://www.frontiersin.org/.../10.../fonc.2022.877194/full
ผลงานวิจัยเรื่องใหม่ของทีม จาก SiSP, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลโดย lead author อ. ดร. อรวรรณ ทรัพปราโมทย์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการปรับตัวของมะเร็งท่อน้ำดี หลังจากถูกยาเข้ามาทำลาย ยาที่หยุดยั้ง เซลล์ที่แบ่งตัวเช่น CDK4/6 inhibitor สู้กับมะเร็งได้ในช่วงแรกอย่างดี แต่เหมือนกับ หลายๆยาต้านมะเร็ง คือสักพักมะเร็งจะปรับตัวหนีได้ (acquired resistance) เราสนใจเรื่องนี้ เเละอยากรู้ว่ามะเร็งท่อน้ำดีปรับตัวหนีอย่างไร เเละการปรับตัวของเซลล์มะเร็งทุกเซลล์ในก้อนปรับตัวไปแนวทางเดียวกันหรือไม่
ผลการวิจัยพบว่า มะเร็งมีพฤติกรรม ปรับตัวหนียาต้าน CDK4/6 โดยการปรับระบบการสร้างโปรตีนโดยไปเพิ่มโปรตีนชื่อ RPL29 และการปรับนี้เเหละเป็นสาเหตุในการดื้อยาใน model ที่เราวิจัย โชคดีที่มียาตัวนึงย่อยสลายโปรตีน RPL29 ได้ดี คือ เคโมตัวนึงชื่อ Oxaliplatin
ถ้าเรารวมยาสองชนิดคือ CDK4/6 inhibitor เข้ากับสูตรเคโมที่มี Oxaliplatin เราสามารถฆ่ามะเร็งท่อน้ำดีที่ดื้อยา และ ป้องการการดื้อยาได้ไปด้วย
การทดสอบนี้ทำไปถึงระดับสัตว์ทดลอง และรอการทำงานร่วมกับทีมแพทย์ที่สนใจเพื่อทดลองวิธีนี้ในคนไข้ต่อไป
สำหรับเรา เป็นงาน translation ที่ได้รับความเห็นร่วมกับเเพทย์และนักวิทยาศาสตร์อย่างใกล้ชิด เป็นความพยายามในการนำงานออกสู่สังคมให้ไวที่สุด
ขอบคุณทีมที่ทุ่มเททำงานชิ้นนี้มากกว่า 6 ปี ทีมงานมาจาก Kumamoto University, ฝ่ายวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์, และสถาบันมะเร็งแห่งชาติครับ